ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การ “ปล่อยจรวดอวกาศจากกลางทะเล” ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป และพบเห็นได้บ่อยขึ้น โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา จีนก็เพิ่งปล่อยจรวดขนส่งสมาร์ต ดรากอน-3 (SD-3) หรือมังกรอัจฉริยะ-3 ขนส่งดาวเทียมสู่วงโคจรจำนวน 9 ดวง

สมาร์ต ดรากอน-3 ทะยานขึ้นจากน่านน้ำนอกชายฝั่งเมืองหยางเจียง มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน

“878 วัน” ชายผู้สร้างสถิติ ใช้เวลาอยู่ในอวกาศนานที่สุดในประวัติศาสตร์

นักวิทย์พบ “ดวงจันทร์กำลังหดตัว” ทำให้เกิดแผ่นดินไหว-ดินถล่ม

ตระการตา! ภาพกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งจาก “เจมส์ เว็บบ์”

การปล่อยจรวดจากกลางทะเลได้ โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยจากฐานยิงจรวดอย่างที่เราเคยเห็นมา ถูกมองว่าอาจเป็นอนาคตของการปล่อยจรวดสู่อวกาศ เพราะนั่นหมายความว่าเราสามารถประหยัดพื้นที่ในการสร้างฐานยิงจรวดได้ รวมถึงสามารถปล่อยจรวดจากพิกัดไหนบนโลกก็ได้ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการประสบความสำเร็จที่สุด

นั่นทำให้เกิดคำถามสำคัญตามมา เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยแสดงวิสัยทัศน์ในการเป็นฮับของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ โดยเมื่อปีที่แล้ว สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้ลงนามความร่วมมือการศึกษาความความเป็นไปได้ในการสร้างจัดตั้งท่าอวกาศยาน (Spaceport) ในประเทศไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยการบินและอวกาศเกาหลี (KARI)

ดังนั้น หากอนาคตเราสามารถปล่อยจรวดจากไหนก็ได้ ท่าอาวกาศยานในไทยจะยังจำเป็นหรือไม่

เรื่องนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. (NARIT) ได้เผยแพร่บทความเรียบเรียงโดย มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการดาราศาสตร์ ลงในเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ว่า “เมื่อจีนสามารถปล่อยจรวดจากกลางทะเล และอนาคตอาจปล่อยจรวดจากที่ใดก็ได้บนโลก ไทยอาจไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์สร้าง Spaceport อีกต่อไป”

บทความระบุว่า “ปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมการบินอวกาศกำลังเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ และมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน และในอนาคตอันใกล้นี้ จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังขับเคลื่อนไม่เพียงแค่ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม แต่จะยังรวมไปถึงด้านเศรษฐศาสตร์และการพัฒนาสังคมที่สำคัญ”

บทความบอกอีกว่า “เราเคยเข้าใจกันมาตลอดว่า ประเทศไทยนั้นได้เปรียบเป็นอย่างมาก ในฐานะของประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้เขตศูนย์สูตร ย่อมจะต้องเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการติดตั้งฐานปล่อยจรวด ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมากจากการอาศัยความเร็วต้นจากพื้นผิวโลกในแถบศูนย์สูตร พร้อมทั้งยังสามารถปรับเข้าสู่วงโคจรได้ด้วยพลังงานที่น้อยกว่า การจะมีฐานปล่อยจรวดออกจากผืนแผ่นดินไทยจึงเป็นหนึ่งในความหวังเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรายังอาจจะพอมีอำนาจต่อรอง และสามารถรักษาข้อได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของเราต่อวงการอวกาศเอาไว้ได้ เมื่อวันนึงที่เราพร้อมจะก้าวขึ้นมา”

อย่างไรก็ตาม บทความบอกว่า ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้การปล่อยจรวดพัฒนาขึ้นไปไกลอย่างมาก ตั้งแต่ระบบจรวดที่สามารถลงจอด และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ของ SpaceX และล่าสุด 3 ก.พ. 2567 สดร. ในฐานะหน่วยงานบริหารโครงการ Thai Space Consortium (TSC) ที่มุ่งสร้างดาวเทียมขึ้นเองโดยคนไทย ได้รับเชิญเข้าร่วมสังเกตการณ์การปล่อยจรวด Smart Dragon-3 จากเรือส่งจรวด โดยมีน้ำหนักบรรทุกรวม 1.5 ตัน ประกอบด้วยดาวเทียมกว่า 9 ดวงที่ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศจากกลางทะเลจีนใต้

“ระบบส่งจรวดจากเรือเชิงพาณิชย์ที่มีต้นทุนต่ำเช่น Smart Dragon-3 ชี้ให้เห็นว่าไม่ช้าก็เร็ว ข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่เราภาคภูมิใจกันมาตลอดนั้นก็จะกลายไปเป็นเพียงอดีตไป และบริษัทเอกชนมากมายที่สามารถส่งดาวเทียม หรือน้ำหนักบรรทุกใดก็ได้ขึ้นไปยังอวกาศด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลงทุกวัน จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า ยังจะมีความจำเป็นที่แต่ละประเทศจะต้องพัฒนาระบบจรวดและฐานขนส่ง หรือ spaceport ภายในประเทศกันอยู่อีกหรือไม่” บทความระบุ

และเสริมว่า “ในอดีตเคยมีความเชื่อว่า ตำแหน่งใกล้เส้นศูนย์สูตรโลกของไทยเป็นข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่จะสร้างฐานปล่อยจรวด แต่เดี๋ยวนี้มีฐานปล่อยจรวดที่อยู่บนเรือสามารถล่องไปยิงดาวเทียมที่ไหนก็ได้ด้วยต้นทุนต่ำ ทำให้ข้อได้เปรียบนี้ค่อย ๆ เลือนหายไป อีกทั้งด้วยความที่ขณะนี้กำลังมีบริษัทเอกชนหน้าใหม่เข้ามาทำจรวดส่งดาวเทียมกันเยอะมาก จนนักวิเคราะห์คาดกันว่าจำนวนจรวดอาจจะล้นตลาดภายในปี 2028 ด้วยซ้ำ”

ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการ สดร. และ ผู้จัดการโครงการ Thai Space Consortium ที่ไปร่วมสังเกตการณ์การปล่อยจรวดจากทะเลของจีน กล่าวว่า “ประเด็นนี้เป็นเหตุให้ประเทศไทยยิ่งต้องลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนด้านการสร้างดาวเทียม เพื่อให้ในอนาคตไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงอวกาศที่ต้นทุนกำลังลดต่ำลงฮวบฮาบ แต่ดาวเทียมจะยังมีราคาแพง ถ้าเราไม่สามารถสร้างเองได้ในประเทศโดยคนไทย”

จีนปล่อยจรวดอวกาศจากทะเล อนาคตการสร้างท่าอวกาศยานในไทยสั่นคลอน-

บทความชี้ว่า “ด้วยเหตุนี้ หากประเทศไทยของเราไม่ต้องการจะถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ที่ประเทศไทยของเราจะต้องเริ่มการพัฒนาโครงการอวกาศ ณ ตอนนี้ และพัฒนาไม่เพียงแต่ระบบการขนส่งลำเลียงทางอวกาศ แต่ยังรวมไปถึงตัวดาวเทียม น้ำหนักบรรทุก รวมไปถึงระบบการติดตามและบริหารการจัดการดาวเทียม ที่นับวันก็มีแต่จะมีความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้น และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญ ที่ สดร. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และผลักดันให้เกิดโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย หรือ Thai Space Consortium (TSC) เพื่อตั้งโจทย์อันท้าทาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านวิศวกรรม และพัฒนากำลังคนที่จะเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศการบินในไทย ที่กำลังจะเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณในอนาคต”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

บทความทิ้งท้ายว่า “มีภาษิตหนึ่ง กล่าวเอาไว้ว่า ‘เวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้ ก็คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่เวลาที่ดีที่สุดถัดมา ก็คือเวลานี้’ คำถามก็คือ ถึงเวลาหรือยัง ที่ประเทศไทยของเราจะสร้างดาวเทียมด้วยศักยภาพจากบุคคลากรของเราเอง”

เรียบเรียงจาก Xinhua / NARIT

9 ก.พ. ไหว้ตรุษจีน 2567 จุดธูปกี่ดอก เวลาไหนดี พร้อมทิศมงคลเสริมเฮง

สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น กทม. – 8 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง

พบ"น้องพร"มีโทรศัพท์อีกเครื่องใช้ติดต่อ"ช่างกิต"

By admin