“ไข้เลือดออก” หรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ถือเป็นโรคประจำถิ่นในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทุก ๆ ปีจะมีผู้ป่วยติดเชื้อราว 100-400 ล้านคน และจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเห็นพ้องว่า รูปแบบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในระยะหลัง เริ่มเปลี่ยนแปลงไปและพยากรณ์ได้ยากขึ้น จนกลายเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศ
เปรู ไข้เลือดออกระบาดอย่างหนัก ดับแล้ว 200 ติดเชื้ออีกกว่าแสนราย
อนามัยโลกเตือน โรคติดเชื้อไวรัสจะรุนแรงขึ้นหลังเกิดเอลนีโญ
ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน ช่วงวันที่ 5-23 กันยายนที่ผ่านมา พบผู้ป่วยเพิ่ม 6,158 คน รวมผู้ป่วยสะสมนับตั้งแต่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นมากกว่า 10,000 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2022 ที่ตัวเลขผู้ป่วยมีแค่ 56 คนเท่านั้น ขณะที่กรุงฮานอยของเวียดนาม พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7,602 คน รวมผู้ป่วยสะสมในปีนี้เกือบ 18,000 คน ซึ่งถือว่าสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว กว่า 3 เท่าคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ส่วนที่บังกลาเทศ สถานการณ์ไข้เลือดออกหนักจนค่อนข้างน่าเป็นห่วง เฉพาะปีนี้ บังกลาเทศมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมสูงกว่า 2 แสนคน เสียชีวิตสะสมอีกกว่า 1,100 คน ซึ่งขณะนี้ทางการกำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ท่ามกลางปัญหาขาดแคลนเตียงและบุคลากรทางการแพทย์
โดยปกติ สถานการณ์การระบาดของไข้เลือดออก จะระบาดเฉพาะในประเทศเขตร้อน และระบาดหนักแค่ในบางช่วงเวลา ไม่ถาวร เช่น ตลอดช่วงฤดูฝนของทุกปี ก่อนจะมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ แต่หลายปีที่ผ่านมา นอกจากตัวเลขผู้ป่วยจะพุ่งสูงต่อเนื่องในหลายประเทศแล้ว การแพร่ระบาดยังกินวงกว้างขึ้น ลามไปยังภูมิภาคใหม่ ๆ และคาดเดาได้ยาก เช่นในปี 2019 ตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงกว่าตัวเลขของปีก่อนหน้า ถึงเกือบ 2 เท่า และเมื่อเดือนกรากฎาคมที่ผ่านมา ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในบังกลาเทศก็พุ่งทุบสถิติด้วย
ปัจจัยแรกที่ส่งผลกับรูปแบบการระบาดที่เปลี่ยนแปลงไป มาจากการปรับตัวของพาหะนำโรคอย่าง “ยุงลายบ้าน” แม้ว่ายุงลายบ้าน จะถูกพบมากในเขตร้อน แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงเห็นยุงลายกระจายออกนอกเขตร้อน ไปยังยุโรปตอนใต้ และอีกหลายรัฐในสหรัฐฯ เช่น ฟลอริดา ฮาวาย เทกซัส และแอริโซนา
ตามปกติ ยุงต้องอาศัยน้ำในการวางไข่ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้สามารถขยายพันธุ์ กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มาจากพาชนะบรรจุน้ำขนาดเล็ก อย่างขยะจำพวกขวดพลาสติก ที่เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แม้จะยังไม่มีใครออกมาระบุชี้ชัดถึงปัจจัยเบื้องหลังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง คือตัวการสำคัญ
โดยบังกลาเทศปีนี้ ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด และมีความชื้นสูง ทำให้ยุงเพิ่มจำนวนขึ้น และเนื่องจากประชากรบังกลาเทศส่วนใหญ่ ใช้เวลาอยู่นอกบ้าน และลักษณะที่พักอาศัยค่อนข้างเปิดโล่ง ง่ายต่อการที่ยุงจะเข้าไป จึงทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ในส่วนของประเทศที่ร่ำรวย สภาพอากาศอาจยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ เพราะด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในอาคาร ห่างจากแหล่งที่มียุงลายชุกชุม จึงต้องมีประชากรที่โดนยุงกัดมากพอจึงจะเกิดการระบาดใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม รายงานใหม่ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ชี้ว่า ไข้เลือดออกก็อาจเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคที่มีการแพร่เชื้อในท้องถิ่นน้อยอย่างยุโรป สหรัฐฯ และแอฟริกาได้ ขณะที่สถานการณ์การระบาดแบบในบังกลาเทศ ก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นซ้ำได้อีกในประเทศอื่น ๆ ที่มีรายได้ต่ำ หรือปานกลางด้วย
หนทางแก้เดียวที่จะช่วยประชาชนในประเทศยากจนได้ คือ การผลิตวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพและราคาจับต้องได้ เช่นวัคซีนที่ทางอนามัยโลกแนะนำในตอนนี้ คือ วัคซีนคิวเดงกา (Qdenga) ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นฤทธิ์อ่อน ผลิตในประเทศเยอรมนี ป้องกันเชื้อไวรัสไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์ได้ 80% ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และลดความรุนแรงของโรคได้ 90.4% สามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ไข้เลือดออก ไม่ใช่โรคติดต่อจากยุงเพียงโรคเดียวที่โลกต้องให้ความสนใจ แต่ยังมีไข้ชิคุนกุนยา ไข้เหลือง และซิกา ที่ล้วนมียุงลายบ้านเป็นพาหะ และคร่าชีวิตผู้คนไปนับล้านคนในทุก ๆ ปี
หากสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง อาจส่งผลให้โรคไข้เลือดออกระบาดหนักขึ้นได้ อนาคตข้างหน้า โรคติดต่ออื่น ๆ จากยุง ก็จะเป็นภัยอันตรายที่ประเทศยากจนต้องเตรียมพร้อมรับมือเช่นกัน