ที่แหล่งค้นคว้าไดโนเสาร์ภูน้อยจ.กาฬสินธุ์ มีการขุดพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดใหม่ และมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” (Minimocursor phunoiensis) ฉายา “นักวิ่งตัวจิ๋วแห่งภูน้อย” ถูกค้นพบโดย ดร.ศิตะ มานิตกุล และทีมงานวิจัยในสังกัดศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในครั้งนี้เป็นการขุดพบซากฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่มีการขุดพบมา โดยชิ้นส่วนที่ค้นพบนั้นได้แก่ โครงกระดูกส่วนท้าย กระดูกขาและนิ้ว รวมถึงขากรรไกรล่างพร้อมฟัน
ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับมนุษยชาติ?
นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!
หลักฐานจากฟอสซิล บรรพบุรุษมนุษย์ “อาจเคยกินกันเองเป็นอาหาร”
โดยสถาบันวิจัยได้ทำการเก็บรักษาตัวอย่างที่ถูกขุดพบขึ้นมาและทำการศึกษาวิจัยมาตลอด 5 ปี ก่อนนำมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ถือเป็นการค้นพบที่พิเศษมาก เพราะเป็นการค้นพบซากไดโนเสาร์กินพืชในไทยที่ห่างหายไปนานถึง 16 ปี (นับตั้งแต่ค้นพบฟอสซิลสิรินธรนา โคราชเอนซิส ที่นครราชสีมาในปี พ.ศ. 2550)
มินิโมเคอร์เซอร์ จัดอยู่ในกลุ่ม ออร์นิธิสเชียน หรือกลุ่มไดโนเสาร์ขนาดเล็กรูปร่างคล้ายนก สันนิษฐานว่าพวกมันมีชีวิตอยู่ในช่วงจูราสสิกตอนปลายหรือประมาณ 150 ล้านปีก่อน
จากขนาดของฟอสซิลที่ขุดขึ้นมา คาดการณ์ว่าตัวของมันมีขนาดความยาวประมาณ 1 เมตร และอาจโตได้มากถึง 2 เมตร ส่วนความหมายของชื่อนั้น คำว่า “มินิโม” หมายถึง ขนาดเล็กในภาษาละติน เคอร์เซอร์ มาจากคำว่า นักวิ่ง ส่วน ภูน้อยเอนซิส มาจากสถานที่ที่ค้นพบที่แหล่งภูน้อย แปลได้ว่า “นักวิ่งตัวจิ๋วแห่งภูน้อย” นั่นเอง
นอกจากนี้ ดร.ศิตะ กล่าวว่าการค้นพบในครั้งนี้ เป็นข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงการกระจายตัวของในโนเสาร์กลุ่มออร์นิธิสเชียน เพราะมีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกันนี้ที่ประเทศจีนเช่นกัน ทำให้ทราบถึงการกระจายตัวที่กว้างขวางตั้งแต่ตอนต้นของทวีปจนถึงบริเวณประเทศไทยของเราในยุคนั้น
ด้าน นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพย์ยากรธรณี กล่าวเสริมว่า การค้นพบซากฟอสซิลที่มีอายุใกล้เคียงกันหลายชนิดที่ภูน้อย ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ ก็ทำให้คาดเดาได้ว่า พื้นที่บริเวณนี้มีความสมบูรณ์มาก เรียกได้ว่าเป็น จูราสสิกพาร์กแห่งเมืองไทยเลยก็ว่าได้
เธอบอกอีกว่า ในพื้นที่ภูน้อยนั้น ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลอีกหลายชนิดมากกว่า 5,000 ชิ้น ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ปลาฉลามน้ำจืด ปลาปอด เต่า จระเข้ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยลักษณะที่ค้นพบมีตั้งแต่เศษฟันไปจนถึงกระดูกขนาดใหญ่ แต่ด้วยเทคโนโลยีและการศึกษาในปัจจุบันต่อให้พบแค่เศษฟันก็สามารถระบุได้ถึง ชนิด ขนาด ลักษณะหรือแม้กระทั่งสีของไดโนเสาร์ชนิดนั้น ๆ
ขณะที่ นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ โฆษกประจำกระทรวงทรัพย์ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กว่าวว่า เพื่อให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เบื้องต้นได้มีการเผยแพร่ข้อมูลให้กับ National Geographic และในอนาคตจะมีการจัดทำแอนิเมชันเกี่ยวกับไดโนเสาร์ตัวนี้เผยแพร่ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการท่องเที่ยวต่อไป
ในปัจจุบันได้มีการประกาศให้พื้นที่ภูน้อยเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ของไทย ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2563 และคาดว่ายังมีซากดึกดำบรรพ์ที่รอการขุดพบอยู่ในบริเวณนี้อีกเป็นจำนวนมาก